บ้านไต้ดิน

ทำผนังห้องใต้ดิน ต้องก่อสร้างให้ถูกวิธี?

โดยปกติธรรมดางานผนังไม่ถือเป็นงานโครงสร้างแต่ถือเป็น เพียง งานสถาปัตยกรรม แต่ผนังห้องใต้ดิน เป็นทั้ง งานสถาปัตยกรรม และ งานโครงสร้าง ในที่เดียวกัน เพราะผนังห้องใต้ดินจะต้องทำหน้าที่แบ่งกั้นห้อง และทำหน้าที่รับน้ำหนักดินที่กดดันเข้ามา นอกจากนั้น ยังต้องทำหน้าที่ กันน้ำ และความชื้นจากน้ำใต้ดินอีกด้วย สิ่งพื้นฐานที่ต้องระมัดระวังคือ

  1. คอนกรีตที่ใช้จะต้องผสมน้ำยากันซึมเสมอ
  2. ทุกจุดที่จะหยุดเทคอนกรีตจะต้องมีการวางแผนการล่วงหน้า และใส่ Water Stop หรือแผ่นยางกันรั่วเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าทางรอยต่อคอนกรีตนั้น
  3. หากเป็นไปได้ปู Water Proofing Membrane หรือแผ่นยาง-แผ่นพลาสติกไว้ที่พื้น (และอาจรวมผนังด้วย)ไว้ด้านนอกด้วย
  4. อย่าเปลี่ยนแปลงแบบ (เช่นการหดหรือขยายห้องใต้ดิน) เมื่อมีการเริ่มลงมือก่อสร้างห้องใต้ดินไปแล้ว เพราะอาจเกิดการรั่วซึมในส่วนที่ต่อเติมได้
  5. ขอให้คุณโชคดี

อยากสร้างห้องใต้ดิน! ต้องคำนึงถึงอะไรก่อนเป็นลำดับแรก ?

หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาภายหลัง ก่อนตัดสินใจสร้างห้องใต้ดิน ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เหมาะสมอย่างละเอียดเสียก่อน รวมถึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
– ต้องสามารถรับแรงดันดินได้ รวมถึงต้องมีการก่อสร้างที่ถูกต้องได้มาจรฐาน พื้นต้องมีความหนากว่าพื้นทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลัง
– ต้องระบายอากาศได้ดี มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีปัญหาอับชื้น โดยสามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือช่องระบายอากาศ ก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างมาก
– วัสดุที่ใช้สร้างห้องใต้ดินต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อความชื้นได้ดี
– หากสร้างห้องใต้ดินที่ภายในบริเวณลักษณะชั้นเดียว น้ำหนักของตัวบ้านไม่มากพอที่จะถ่วงกับแรงลอยตัวจากน้ำใต้ดิน อาทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

สร้างห้องใต้ดินเหนือระดับ

การสร้างห้องใต้ดินที่มีความลึกว่า 150 ซม. มีความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมจากน้ำใต้ดิน เพราะฉะนั้นควรลดระดับลง หรือสร้างห้องใต้ดินที่เหนือระดับ

วางรากฐาน

วางแผนการจัดวางท่อ และสายไฟให้เรียบร้อย และวางรากฐานของคอนกรีตให้เข้ากับองค์ประกอบ สามารถรองรับตัวอาคารเสริมแรงได้ดี

ขุดหลุมขนาดพอเหมาะ

การขุดหลุมสร้างห้องใต้ดินต้องไม่เกิน 50 ซม. โดยบริเวณด้านล้างของอุโมงค์ให้พรมด้วยเศษหิน หรืออิฐ รวมถึงวางแผ่นคอนกรีตบริเวณชั้นนี้

ติดตั้งผนังคอนกรีตที่เหมาะสม

การเทลงในดินต้องขุดคลองที่มีความลึกประมาณ 150 – 200 ซม. ความกว้างอยาที่ 50 – 70 ซม. ส่วนการติดตั้งผนังคอนกรีตต้องวางไว้ด้านล่างของคูน้ำแล้วเทลงบนคอนกรีต โดยคอนกรีตจะเกิดการแข็งตัวเป็นผนัง และสามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง แนะนำให้สร้างห้องใต้ดินบริเวณใต้ส่วนของอาคาร ผนังจะได้ไม่เชื่อมกัน

ติดตั้งช่องระบายอากาศในตำแหน่งที่เหมาะสม

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือการระบายอากาศได้ดีภายในบริเวณห้องใต้ดิน โดยควรติดตั้งช่องสำหรับระบายอากาศ เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก โดยให้ติดจำนวน 2 ช่อง ซึ่งส่วนแรกให้ติดตั้งช่องระบายอากาศที่ออกมาจากท่อ ที่มีความสูงจากพื้นครึ่งเมตรนับจากพื้น ส่วยช่องที่สองแนะนำให้ติดตั้งบริเวณตรงข้ามเพดาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ช่วยให้อากาศภายในห้องหมุนเวียนได้ดี

ยับยั้งการรั่วซึม

ควรเลือกใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันการรั่วซึมในการก่อสร้าง และมีควรมีส่วนผสมที่เป็นกันซึมชนิดพิเศษ รวมถึงสร้างผลึกเพื่อป้องกันการซึมผ่านของความชื้น พร้อมทั้งป้องกันการรั่วซึมภายในใน แล้วให้อากาศชื้นออกไปยังบริเวณด้านนอก

มีแสงแดดส่องถึง

ภายในห้องใต้ดินควรออกแบบให้มีแสงสว่างส่องเข้าถึง เพื่อจะได้ไม่เกิดความอับชื้น และสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย

แน่นอนว่าทุกหลังคาเรือนต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับบ้านที่หลากหลายวต่างกันออกไป การสร้างห้องใต้ดินก็เช่นกัน โดยพี่เข้มีปัญหาเกี่ยวกับห้องใต้ดินที่ต้องเตรียมรับมือมาแชร์ ดังนี้

ปัญหาน้ำรั่วซึม

ถือเป็นปัญหายอดฮิตที่พบได้ทุกหนทุกแห่งภายในบริเวณบ้าน ซึ่งห้องใต้ดินก็เช่นกัน เนื่องจากคอนกรีตที่ใช้สร้างรูพรุน จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรั่วซึมได้

ปัญหารอยร้าว

มักเกิดจากสาเหตุการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงส่งผลให้โครงสร้างทรุดตัว โดยสามารถซ่อมแซมด้วยน้ำยาประสานประเภทซิลิโคน หรือการทำระบบกันซึมภานใน ด้วยการเพิ่มระบบระบายน้ำ

ปัญหาความชื้นสะสม

นอกจากจะทำให้ภายในห้องมีความเสื่อมโทรมแล้ว ยังก่อให้เกิดเชื้อรา รวมถึงเชื่อโรคสะสม ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และผนังห้องเกิดปัญหา รวมถึงสีลอก โดยสามารถแก้ไขได้ด้วยการติดจั้งระบบระบายอากาศ เพื่อจะได้ลดปัญหาความชื้นสะสมภายในห้องใต้ดิน

การสร้างห้องใต้ดินที่ดินมีความแห้งถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่สำคัญคือเลือกช่างที่มีความรู้ความชำนาญ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดปัญหาการซ่อมแซม ที่นอกจากจะเสียเวลาทำให้ปวดหัวแล้ว ยังเสียเงินโดยใช้เหตุอีกด้วย

อ้างอิง https://www.jorakay.co.th/blog/owner/structure/want-to-build-a-basement-what-to-consider-first

Leave a Reply