อาคารสมัยใหม่ปัจจุบัน ตามฝ้าเพดานจะอุดมไปด้วยท่อของวิศวกรรมระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประปาไฟฟ้า ปรับอากาศ และอื่น ๆ ซึ่งท่อเหล่านี้ จะมีน้ำหนักไม่น้อยทีเดียว และท่อเหล่านี้ จะอยู่ได้ต่อเมื่อ มีตัวแขวน มารองรับ (Hanger) ที่จะต้องฝากไว ้กับเนื้อคอนกรีต ของพื้นคอนกรีตชั้นบน หากไม่เตรียมการ ยึดติด Hanger เอาไว ้ก ็จะสร้างปัญหา กับการก่อสร้าง หรือกับอาคาร ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วทั้งความคลาดเคลื่อน ของตำแหน่ง (แนวท่อ) ทั้งการแตกหัก เสียหาย ของท่อเหล่านั้น สิ่งที่ต้องเตรียมการแต่เริ่มแรกคือการทำ Shop drawing (แบบสำหรับการก่อสร้างจริง) ของงาน ทุกระบบ ที่เกี่ยวข้อง หาแนวท่อ ให้พอ แล้วฝังพุก ตัวเมีย (Insert) ไว้บนไม้แบบ ก่อนการเทคอนกรีตเมื่อถอด ไม้แบบออก (พุกจะฝัง อยู่ในคอนกรีต) จึงนำพุกตัวผู้ซึ่งเป็นขอเกี่ยว เสียบเข้าไป เพื่อแขวนท่อ ตามแนว ที่เตรียมเอาไว้
ในกรณีที่การฝัง Insert เป็นเรื่องลำบากในการทำงานมาก เราอาจจะทาสีไว ้ตามแนวเหล็กเสริม หรือแนว เหล็กแรงดึงสูง (Tendon) ที่ไม้แบบ เมื่อถอดไม้แบบออก ก็จะมีรอยสี ที่ทาไว้ติดบนพื้นอนกรีต(ฝ้าเพดาน) แล้วจึงขันน๊อตเกลียว กับพื้นคอนกรีตนั้น (ณ แนวที่ไม่มีรอยสีเหล็กเสริม) จึงแขวนHanger เพื่อแขวนท่อ ต่อไปได้ …. แต่วิธีการนี้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากแนวเหล็กเส้น หรือเหล็กแรงดึงสูง (Tendon) อาจเบี่ยงเบน ย้ายไปได้ เวลาเทคอนกรีต ทำให้แนวเหล็กจริง กับรอยสี ที่เตรียมไว้ไม่ตรงกัน หากการเจาะน๊อตเข้าไป ถูกเหล็กหรือ Tendon จะทำให้โครงสร้าง เป็นอันตรายได้
ระวัง ระวัง ผู้รับเหมาใจดี จะแถมพื้นคอนกรีตให้ท่านหนาเกินไป
ในการออกแบบทั้งหลายทั้งมวล วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบพื้นคอนกรีตไว้หนาเพียงพอแล้ว อย่าให้ ผู้รับเหมา เทพื้นคอนกรีต ให้หนาเกินกว่า ที่แบบกำหนด ด้วยความใจดี (หรือผิดพลาด) แล้วมา บอกคุณว่า “แข็งแรงขึ้น” เพราะนั่น อาจเป็นสาเหตุ ให้อาคารของคุณ พังลงมาได้ เพราะคอนกรีต เป็นวัสดุที่ หนักมาก 1 ลูกบาศก์เมตร หนักตั้ง 2,400 กิโลกรัม หากเขาเทคอนกรีต หนาขึ้นเพียง 5 เซนติเมตรคิดเป็น น้ำหนัก ที่โครงสร้าง ต้องรับ เพิ่มขึ้นถึง 2,400 x 0.05 = 120 กิโลกรัม และตามกฎหมายบ้านพักอาศัย จะออกแบบ ให้รับน้ำหนักได้เพียง 150 กิโลกรัม / ตร.ม. พอมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นตั้ง 120 กิโลกรัม ก็เลยเหลือความแข็งแรง ที่โครงสร้างจะรับได้อีกเพียง 150-120 = 30 กิโลกรัม…เท่านั้นเอง
ท่านผู้รับเหมาที่รัก การชักเหล็กออกจากโครงสร้าง ด้วยสูตร 5 ชัก 1 ของท่านนั้น รู้หรือเปล่าว่าท่านจะได้กำไรกี่สตางค์?
สูตร 5 ชัก 1 หมายถึงการใช้เหล็กเส้นน้อยกว่าที่แสดงในแบบก่อสร้าง 20% หรือเหล็กทุก ๆ 5 เส้น จะเอาออก 1 เส้น … ตามประสบการณ์ (ที่ชั่วร้าย) ของผู้รับเหมาท ี่ผ ่านมา โครงสร้างก็ยังคงสามารถอยู่ได้ (โครงสร้าง เอา Safety Factor) ที่กำหนดในกฎหมายมาใช้ในบ้านขนาด 3 ห้องนอนหลังหนึ่ง มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 200 ตารางเมตร โดยราคาค่าก่อสร้าง จะประมาณ 1,600,000 -2,200,000 บาท จะใช้เหล็กเส้นทั้งสิ้น ประมาณ 6,000 กิโลกรัม …หากผู้รับเหมา ใช้สูตร ชักเหล็กออก (โกงเหล็ก) แบบ 5 ชัก 1 จะสามารถ โกงเหล็กได้ = 6,000 / 5 = 1,200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 15 บาท หรือเป็นเงินทั้งสิ้น = 1,200 x 15 บาท = 18,000 บาท ซึ่งน้อยมาก (ประมาณ 1% ของค่าก่อสร้างทั้งหมด) จะเห็นได้ว่า ท่านประหยัด (โกง) ได้นิดเดียว อย่าโกงเลยนะครับ
หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง
บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile, Square Micropile, I Micropile, Steel Micropile)
www.nmp.co.th
www.narongmicropile.com
Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695