รวมบทความที่น่าสนใจ
การต่อเติมบ้านพักอาศัยด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ (Micro Pile)
การต่อเติมบ้านพักอาศัยด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่ก่อสร้างมีข้อจำกัดหรืออยู่ในเขตเมืองที่การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่อาจไม่สะดวก ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์ ขั้นตอนการติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์ ข้อควรระวัง การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ในการต่อเติมบ้านพักอาศัยเป็นทางเลือกที่ดีเมื่อคำนึงถึงความสะดวกและประสิทธิภาพในการติดตั้ง และช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับโครงสร้างของบ้านในระยะยาว #micropile#ไมโครไพล์#เสาเข็มไมโครไพล์#spun micropile#spun micro pile 0 notes
เสาไฟฟ้าแรงสูง อยู่ใกล้ทำให้ป่วยจริงหรือไม่ ควรมีระยะห่างจากบ้านเท่าไหร่
หลายคนเชื่อว่าการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงเสี่ยงทำให้ป่วย หรือส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว จึงอาจทำให้หลายคนกังวล ทั้งในเรื่องของอันตรายและข้อควรระวังในการก่อสร้างบ้านหรือซื้อบ้านใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง บทความนี้ได้รวบรวมข้อสงสัยและสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการอาศัยในบริเวณที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงระยะห่างเสาไฟฟ้าแรงสูงกับสิ่งปลูกสร้างควรเป็นเท่าไหร่ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการสร้างบ้านใกล้พื้นที่ที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูงได้อย่างปลอดภัย เสาไฟฟ้าแรงสูง คืออะไร เสาไฟฟ้าแรงสูง คือ สิ่งก่อสร้างที่ติดตั้งสายไฟและระบบไฟฟ้าแรงสูง โดยระบบดังกล่าวถือเป็นแหล่งรวมพลังงานไฟฟ้ามหาศาล ทำให้บาดเจ็บแก่ชีวิตผู้คนหรือสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินต่าง ๆ ได้ หากเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของพลังไฟฟ้าแรงสูงนั้น ก็นับว่าแรงกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไป อุปกรณ์และคอนดักเตอร์ที่ใช้ตรึงสายและเสาไฟฟ้าแรงสูงจึงต้องมีมาตรฐานและได้รับการประกันคุณภาพความปลอดภัยเป็นพิเศษ โดยทั่วไปแล้ว ระบบไฟฟ้าแรงสูงมักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้ามหาศาล ได้แก่ ฉายเอ็กซ์เรย์ ฉายรังสีด้วยลำอนุภาค สร้างปรากฏการณ์อาร์คสำหรับให้เกิดการจุดประกายไฟฟ้า สร้างพลังงานในท่อสุญญากาศ รวมทั้งนำไปใช้กิจการทางทหารและวิทยาศาสตร์ คุณสมบัติของระบบไฟฟ้าแรงดันสูงสามารถส่งแรงดันไฟฟ้าได้ในระยะไกล โดยมีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1,000 โวลต์ ปัจจุบันระบบไฟฟ้าแรงสูงใช้แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 1,200-115,000 โวลต์ บางพื้นที่อาจใช้แรงดันไฟฟ้ามาถึง 230,000 โวลต์ วิธีสังเกตลักษณะเสาไฟฟ้าแรงสูงกับเสาไฟฟ้าทั่วไป (หรือเสาไฟฟ้าแรงดันต่ำ) ดูได้จากตัวเสาไฟฟ้า…
สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน
โดยเบื้องต้นแบบก่อสร้างที่ถูกต้องจะต้องมีรายชื่อ เลขประจำตัว และลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร และมีใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีอายุ 1 ปี จึงควรให้ผู้รับเหมาต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุเสมอ โดยแต่ละบริษัทอาจมีการใช้ฟอร์มของแบบก่อสร้างแตกต่างกัน แต่มีหัวข้อสำคัญที่ควรมี คือ รูปแบบการก่อสร้าง, สถานที่ก่อสร้าง, เจ้าของ, สถาปนิก, วิศวกรโยธา, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรสุขาภิบาล, เขียนแบบ, วันที่ และแผ่นที่ พร้อมกับกำกับมาตราส่วนของแผนผัง และบอกรหัสและหมายเลขแบบแปลนว่าเป็นในส่วนของงานระบบอะไร โดยจะแบ่งออกเป็น รหัสตัวอักษร ความหมาย A แบบสถาปัตยกรรม S แบบวิศวกรรมโครงสร้าง EE แบบระบบไฟฟ้า SN แบบประปา-สุขาภิบาล ตัวอย่างการเขียนแบบบ้านเบื้องต้น นอกจากรายละเอียดสำคัญที่อยู่ในหัวกระดาษแล้ว อีกหนึ่งส่วนประกอบก็คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้าน อาทิ…
การเตรียมงานก่อสร้าง
การก่อสร้างอาคาร คืองานก่อสร้างที่ระบุในแบบก่อสร้างอาคาร และรายการประกอบ แบบเอกสารแนบสัญญา รวมทั้งงานประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร การทางานจึงต้องมีลำดับขั้นในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำงาน เกิดผลงานที่ดี มีคุณภาพงานก่อสร้างเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด การเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร และการศึกษาแบบก่อสร้างอาคารรายการประกอบแบบ เอกสารแนบสัญญา เพื่อเตรียมขั้นตอนการก่อสร้างอาคารและการจัด เตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม กับการดำเนินงานก่อสร้างอาคารการเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร หมายถึง การศึกษาสภาพบริเวณสถานที่ที่จะทำการ ปลูกสร้างอาคาร เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ แนวเขตที่ดิน ให้ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดิน โดยขอรายละเอียดจากเจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคาร เช่น เอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดินโฉนดที่ดินมาประกอบกับแบบการก่อสร้างอาคาร รายการประกอบแบบ ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารและให้เจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคารมาชี้บริเวณและแนวเขตที่ดิน เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันการก่อสร้างอาคารผิดพื้นที่ เมื่อทำการสารวจ ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ควรดูแลหมุดแนวเขตให้อยู่ในสภาพเดิมตรงตามรังวัด แล้วจึงทำการปรับสภาพพื้นที่ เช่นการตัดหรือถมดินบริเวณให้ได้ระดับดินตามแบบที่กำหนดการกาหนดแนวรั้วและที่ดินข้างเคียงตลอดจนสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกระหว่างทำการก่อสร้างอาคาร การสำรวจหลักเขตที่ดินการสำรวจตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน เป็นการตรวจสอบพื้นที่ให้ตรงกับเอกสาร…
Shop Drawing คืออะไร
Shop Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานจริง ๆ ณ สถานที่ก่อสร้าง เพราะโดยปกติ แบบที่เขียน จากบรรดาสถาปนิก-วิ ศวกร จะแยกส่วนออกจากกัน ทั้งที่การก่อสร้าง จะต้องสัมพันธ์กันเกี่ยวข้องกัน เชื่อมต่อกัน เช่น ห้องน้ำห้องหนึ่ง จะมีแบบสถาปัตยกรรม แสดงขอบเขตของห้อง แสดงผนัง- ประตู- หน้าต่าง- สุขภัณฑ์ รายละเอียดของคาน และพื้นแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมโครงสร้าง การเดินท่อน้ำ- ท่อส้วม- ท่อระบาย จะแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล รายละเอียดดวงโคม- สวิตช์-ปลั๊ก แสดงอยู่ในแบบวิศวกร ไฟฟ้า ซึ่งในการก่อสร้างจริง รายละเอียดทุกอย่าง จะต้องสอดประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเขียน Shop Drawing ที่จะเอารายละเอียดทุกอย่าง มาอยู่ในแผ่นเดียวกันจึงเป็นเรื่องจำเป็น…