September 2022

บ้านไต้ดิน

ทำผนังห้องใต้ดิน ต้องก่อสร้างให้ถูกวิธี?

โดยปกติธรรมดางานผนังไม่ถือเป็นงานโครงสร้างแต่ถือเป็น เพียง งานสถาปัตยกรรม แต่ผนังห้องใต้ดิน เป็นทั้ง งานสถาปัตยกรรม และ งานโครงสร้าง ในที่เดียวกัน เพราะผนังห้องใต้ดินจะต้องทำหน้าที่แบ่งกั้นห้อง และทำหน้าที่รับน้ำหนักดินที่กดดันเข้ามา นอกจากนั้น ยังต้องทำหน้าที่ กันน้ำ และความชื้นจากน้ำใต้ดินอีกด้วย สิ่งพื้นฐานที่ต้องระมัดระวังคือ คอนกรีตที่ใช้จะต้องผสมน้ำยากันซึมเสมอ ทุกจุดที่จะหยุดเทคอนกรีตจะต้องมีการวางแผนการล่วงหน้า และใส่ Water Stop หรือแผ่นยางกันรั่วเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าทางรอยต่อคอนกรีตนั้น หากเป็นไปได้ปู Water Proofing Membrane หรือแผ่นยาง-แผ่นพลาสติกไว้ที่พื้น (และอาจรวมผนังด้วย)ไว้ด้านนอกด้วย อย่าเปลี่ยนแปลงแบบ (เช่นการหดหรือขยายห้องใต้ดิน) เมื่อมีการเริ่มลงมือก่อสร้างห้องใต้ดินไปแล้ว เพราะอาจเกิดการรั่วซึมในส่วนที่ต่อเติมได้ ขอให้คุณโชคดี อยากสร้างห้องใต้ดิน! ต้องคำนึงถึงอะไรก่อนเป็นลำดับแรก ? หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาภายหลัง ก่อนตัดสินใจสร้างห้องใต้ดิน ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เหมาะสมอย่างละเอียดเสียก่อน รวมถึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้– ต้องสามารถรับแรงดันดินได้ รวมถึงต้องมีการก่อสร้างที่ถูกต้องได้มาจรฐาน พื้นต้องมีความหนากว่าพื้นทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลัง– ต้องระบายอากาศได้ดี มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีปัญหาอับชื้น โดยสามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือช่องระบายอากาศ ก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างมาก– วัสดุที่ใช้สร้างห้องใต้ดินต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อความชื้นได้ดี– หากสร้างห้องใต้ดินที่ภายในบริเวณลักษณะชั้นเดียว น้ำหนักของตัวบ้านไม่มากพอที่จะถ่วงกับแรงลอยตัวจากน้ำใต้ดิน อาทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง สร้างห้องใต้ดินเหนือระดับ การสร้างห้องใต้ดินที่มีความลึกว่า […]

ทำผนังห้องใต้ดิน ต้องก่อสร้างให้ถูกวิธี? Read More »

กระเบื้องระเบิด

คุณปัญหากระเบื้องระเบิดที่บ้านบ้างหรือเปล่า ?

เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ใครที่อยู่ในวงการก่อสร้างหรือเจ้าของบ้านที่เพิ่งปูกระเบื้องพื้นไป อาจจะเจอปัญหา ว่ากระเบื้อง (ส่วนใหญ่ที่พื้น) จะปูดหรือระเบิดขึ้นมา มีทั้งระเบิดใหญ่ทั้งพื้น หรือระเบิดเป็นจุด ๆที่แผ่นกระเบื้อง (เป็นรอยดำ ๆ น่าเกลียด) ในปัจจุบันปัญหานี้ ก็ยังคงมีอยู่ แม้จะลดน้อยลงไป มากแล้วสาเหตุ ของกระเบื้องระเบิดนี้ มีหลายสาเหตุ ซึ่งน่าจะมาจาก ใต้พื้นชื้นแฉะระบบพื้นกันความชื้นไม่อยู่ ความชื้นทำให้กระเบื้องพองตัวดันกันจึงปูดขึ้นมา ปูกระเบื้องไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปูนยาแนว น้ำจากด้านบนซึมลงไปใต้กระเบื้องได้ เกิดเหตุแบบ ประการแรก (ดาดฟ้าเกิดมาก เพราะมีอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย) พื้นหรือใต้พื้นหรือปูนปูกระเบื้องผสมผิดส่วน มีความเป็นกรดเป็นด่างสูงมาก ทำลายพื้น-ปูนฉาบ- กระเบื้อง (แบบนี้ไม่ค่อยระเบิดแต่จะล่อน) กระเบื้องเลว (ตอนนี้กระเบื้องรุ่นนั้น ??? คงหมดตลาดแล้ว) เลือกวัสดุปูพื้นอะไรดี วัสดุปูพื้นบ้านเราอาจแยกใหญ่ ๆ ได้เป็น 5 – 6 ประเภท วัสดุเหล่านี้แต่ละอย่าง จะมีจุดเด่น จุดด้อยต่างกัน และมักเป็นปัญหาไม่จบสิ้นสำหรับท่านเจ้าของบ้านว่าจะเลือกอะไรดี 1. พื้นไม้จริง เป็นของธรรมดาพื้นบ้านมานมนานกาเล แต่ปัจจุบัน

คุณปัญหากระเบื้องระเบิดที่บ้านบ้างหรือเปล่า ? Read More »

สีลอก

สีลอก สีขึ้นรา สีวิบัติ เกิดเพราะใช้สีผิดยี่ห้อจริงหรือ ?

เชื่อหรือไม่ว่า 80% ของผนังที่สภาพสีเสียหายก่อนกำหนด เกิดจากการเตรียมพื้นผิวไว้ไม่ดี เช่น ไม่แห้งสนิท มีสภาพ เป็นกรด เป็นด่าง มีฝุ่นเกาะฯลฯ ดังนั้น ในการเลือกใช้สี จึงสมควร เน้นที่การ ควบคุมงาน ว่าการเตรียมพื้นผิว ก่อนทาสีนั้น ดีเพียงพอ ตลอดจนการควบคุม ให้ทาครบจำนวนครั้งตามที่บริษัทสีต้องการ (บางบริษัทไม่ได้นับ จำนวนครั้งที่ทาสี แต่วัดที่ความหนาของผิวสี) ไม่จำเป็นต้องซีเรียสที่ยี่ห้อของสี (แต่สีประเภทที่ทำเองหลังห้องแถว ก็ไม่น่าจะเสี่ยงใช้ เพราะอาจเป็นอีก 20% ที่เหลือซึ่งเป็นปัญหา การวิบัติของสีโดยสีจริง ๆ) สีลอกเป็นแผ่น เกิดจากอะไร แก้ไขยังไงให้หาย โดยส่วนใหญ่เเล้วปัญหาสีล่อนเป็นเเผ่น สามารถเกิดได้หลายบริเวณมาก เช่น บริเวณชายล่างของอาคาร ทั้งภายนอกเเละภายในบ้าน หรือ จะเป็นบริเวณฝ้า เป็นต้น เเต่จะเกิดขึ้นมากกับบริเวณที่เป็นชายล่างอาคาร เรามาดูสาเหตุเเละการเเก้ไขกันดีกว่า ความชื้น : ความชื้นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาสีลอกล่อนเป็นเเผ่นเลย เพราะสีน้ำทาอาคาร ที่เราใช้ทากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ถูกกับความชื้นเอาซะเลย โดยเฉพาะบริเวณชายล่างของผนังบ้านของเรา ที่มักจะมีความชื้นสะสมอยู่บริเวณที่พื้นอยูเสมอ เมื่อความชื้นเกิดการสะสมมากๆ ก็จะซึมเข้าสู่ผนังเเล้วไปดันฟิล์มสีที่ทาอยู่ให้พองลอกล่อนต่อไป วิธีการเเก้ไขนั้น ควรใช้ผลิตภัณฑ์สีที่สามารถทนชื้นสูงๆได้ หรือทาน้ำยาบล็อคความชื้น

สีลอก สีขึ้นรา สีวิบัติ เกิดเพราะใช้สีผิดยี่ห้อจริงหรือ ? Read More »

ไมโครไพล์ บุญรอดเอเชียเบเวอเรซ

บุญรอด เอเชีย เบเวอเรซ สิงห์บุรี | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

Project : บุญรอดเอเชียเบเวอเรซ จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีรายละเอียดเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร) Design Load อยู่ที่ 30 ตัน/ต้น จำนวน 14 ต้นทำการตอกเสาเข็มจนไม่ลงแล้วเช็ค BlowCount ตามรายการคำนวณของวิศวกรทุกต้น ผู้รับเหมา : บริษัท อ่างศิลามหานคร จำกัด สถานะ : ส่งมอบงานตอกเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง www.nmp.co.th www.narongmicropile.com Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

บุญรอด เอเชีย เบเวอเรซ สิงห์บุรี | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์ Read More »

ไมโครไพล์-Western Digital Thailand

Western Digital Thailand | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

Project : NEW 115KV SUB STATION BUILDING AT B6 โดยมีรายละเอียดเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร) Design Load อยู่ที่ 40 ตัน/ต้น จำนวน 68 ต้นทำการตอกเสาเข็มจนไม่ลงแล้วเช็ค BlowCount ตามรายการคำนวณของวิศวกรทุกต้น เสร็จแล้วมีการสุ่มเทสการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยวิธีทางพลศาสตร์ Dynamic Pile Load Test จำนวน 2 ต้น ผู้รับเหมา : บริษัท ไทยทากาซาโก จำกัด สถานะ : ส่งมอบงานตอกเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง www.nmp.co.th www.narongmicropile.com Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

Western Digital Thailand | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์ Read More »

ไฟฟ้าโรงงาน

ไฟบ้านกับไฟโรงงานแตกต่างกันไหม!!!

ไฟฟ้า คือ พลังงานที่มีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับเราทุกวันนี้ต่างก็ต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลม, แอร์, โทรทัศน์ หรือแม้แต่ระบบรักษาความปลอดภัยในยุคนี้ก็เลือกที่จะใช้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกัน เมื่อชีวิตของเราต้องอยู่ใกล้กับไฟฟ้าถึงขนาดนี้ จึงควรศึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจของไฟฟ้าไว้บ้าง ถ้าเกิดปัญหาเรื่องระบบไฟภายในบ้านจะได้รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด วันนี้ admin จึงขอนำความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า 1เฟส กับ 3 เฟส  ที่ถูกใช้งานมากที่สุด ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟที่ใช้ภายในบ้านเรือน มีการจ่ายไฟที่เหมาะสมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะใช้กับงานด้านอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก และอาจจะมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าเพื่อไปใช้ในอาคารต่างๆ บนพื้นที่เดียวกัน ซึ่งระบบไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันในเรื่องแรงดันไฟฟ้าที่เห็นชัด คือ ไฟบ้านแรงดันไฟฟ้า 1 เฟส ไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-230 โวลท์ มีความถี่ที่ 50 Hz โดยจะมีสายไฟที่ประกอบอยู่ 2 สาย คือ สายไลน์ที่มีชื่อเรียกอีก 2 แบบ อย่างสายเฟสและสายไฟ

ไฟบ้านกับไฟโรงงานแตกต่างกันไหม!!! Read More »

ไมโครไพล์-หมู่บ้านวินด์มิล กิ่งแก้ว

หมู่บ้าน วิลด์มิล กิ่งแก้ว | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

ก่อสร้างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น ที่หมู่บ้าน วิลด์มิล กิ่งแก้ว โดยมีรายละเอียดเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร) Design Load อยู่ที่ 40 ตัน/ต้น จำนวน 135 ต้นทำการตอกเสาเข็มจนไม่ลงแล้วเช็ค BlowCount ตามรายการคำนวณของวิศวกรทุกต้น เสร็จแล้วมีการสุ่มเทสการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยวิธีทางพลศาสตร์ Dynamic Pile Load Test จำนวน 2 ต้น ผู้รับเหมา : บริษัท สมาร์ท-เทค เดค แอนด์ คอน จำกัด สถานะ : ส่งมอบงานตอกเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง www.nmp.co.th www.narongmicropile.com Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

หมู่บ้าน วิลด์มิล กิ่งแก้ว | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์ Read More »

ท่อเอสล่อนแบบ สีเหลือง สีฟ้า และสีเทา

ท่อเอสล่อนแบบ สีเหลือง สีฟ้า และสีเทา ต่างกัน อย่างไร

ท่อ PVC (PVC ย่อมาจาก Poly Vinyl Chloride) แบ่งแยกการใช้งานตามสีต่างๆ ที่นิยมใช้ได้แก่ท่อพีวีซี (PVC) แข็ง หรือท่อเอสลอน แต่ละชนิดเหมาะกับการใช้งานต่างกัน ท่อพีวีซีมีคุณสมบัติแข็ง เมื่อถูกแดดนานๆจะเปราะและแตกได้ มีให้เลือก 3 แบบ ท่อสีฟ้าสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่มหรือท่อประปา ท่อสีเหลืองใช้ร้อยสายไฟหรือสายโทรศัพท์ และท่อสีเทามักใช้เป็นท่อน้ำทิ้งในโรงงาน การเลือกใช้ท่อ PVC มาทำเป็นท่อน้ำดื่มหรือท่อประปาจึงต้องจำกัดเฉพาะท่อสีฟ้าเท่านั้น มิฉะนั้นหากนำท่อสีอื่นมาเป็นท่อน้ำดื่มหรือท่อประปา จะมีการปนเปื้อนของโลหะหนักจากน้ำที่ไหลผ่านท่อประปาส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ว่ากันแบบลูกทุ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์ทางเทคนิคใด ๆ ท่อเอสล่อนแยกตามความแข็งแรงได้ดังต่อไปนี้ ท่อสีเทา เป็นท่อที่อ่อนแอที่สุด ทนแรงอัดอะไรไม่ได้มาก เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่มีความแข็งแรงขนาดกลาง เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น ท่อประปา น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำ ได้มากน้อยตาม ประเภท การใช้งาน และไม่สามารถนำมาใช้เป็นท่อน้ำร้อนได้ เพราะรองรับอุณหภูมิได้เพียง 65

ท่อเอสล่อนแบบ สีเหลือง สีฟ้า และสีเทา ต่างกัน อย่างไร Read More »

แขวนท่อเพดาน

เทคอนกรีตโครงสร้างพื้น อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์สำหรับแขวนท่อด้วย

อาคารสมัยใหม่ปัจจุบัน ตามฝ้าเพดานจะอุดมไปด้วยท่อของวิศวกรรมระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประปาไฟฟ้า ปรับอากาศ และอื่น ๆ ซึ่งท่อเหล่านี้ จะมีน้ำหนักไม่น้อยทีเดียว และท่อเหล่านี้ จะอยู่ได้ต่อเมื่อ มีตัวแขวน มารองรับ (Hanger) ที่จะต้องฝากไว ้กับเนื้อคอนกรีต ของพื้นคอนกรีตชั้นบน หากไม่เตรียมการ ยึดติด Hanger เอาไว ้ก ็จะสร้างปัญหา กับการก่อสร้าง หรือกับอาคาร ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วทั้งความคลาดเคลื่อน ของตำแหน่ง (แนวท่อ) ทั้งการแตกหัก เสียหาย ของท่อเหล่านั้น สิ่งที่ต้องเตรียมการแต่เริ่มแรกคือการทำ Shop drawing (แบบสำหรับการก่อสร้างจริง) ของงาน ทุกระบบ ที่เกี่ยวข้อง หาแนวท่อ ให้พอ แล้วฝังพุก ตัวเมีย (Insert) ไว้บนไม้แบบ ก่อนการเทคอนกรีตเมื่อถอด ไม้แบบออก (พุกจะฝัง อยู่ในคอนกรีต) จึงนำพุกตัวผู้ซึ่งเป็นขอเกี่ยว เสียบเข้าไป เพื่อแขวนท่อ ตามแนว ที่เตรียมเอาไว้ในกรณีที่การฝัง Insert เป็นเรื่องลำบากในการทำงานมาก เราอาจจะทาสีไว ้ตามแนวเหล็กเสริม

เทคอนกรีตโครงสร้างพื้น อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์สำหรับแขวนท่อด้วย Read More »

พื้นสำเร็จ vs พื้นหล่อกับที่

อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าเปลี่ยนพื้นสำเร็จกับพื้นหล่อกับที่ พัง แน่นอน

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าไม่น้อยเลย ว่าผู้รับเหมาบ้านเราหลายคนทำให้เกิดอาคารวิบัติ โดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์โดยการ เปลี่ยนแปลง แบบวิศวกรรมโครงสร้าง ของพื้น จากพื้นหล่อกับที่ธรรมดา ไปเป็นพื้นสำเร็จเพื่อการทำงาน ที่ง่ายกว่า… และบางทีก็เปลี่ยนจาก ระบบพื้นสำเร็จ ไปเป็นพื้นหล่อกับที่ ยามที่หาพื้นสำเร็จ ตามแบบไม่ได้ โดยมักจะบอกกับเจ้าของอาคารว่า…”เหมือนกัน”ธรรมชาติของพื้นทั้งสองระบบนี้แตกต่างกันมาก และทำให้อาคารของท่านพังลงมาได้ง่าย ๆ … หากลองวิเคราะห์ถึงพื้นฐาน ของการรับแรงในคานดู จะเห็นได้ถึงความแตกต่าง อย่างเด่นชัด พื้นสำเร็จเป็นการวางแผ่นพื้น ลงบนคานสองด้าน คือหัวและท้าย สมมุติว่า พื้นทั้งผืนนั้น ขนาด 6 x 6 เมตร รวมเป็นพื้นที่ 36 ตร.ม. ต้องการให้รับน้ำหนักได้ ตร.ม. ละ 200 กก. ทำให้จะต้องรับน้ำหนักได้ = 36 x200 = 7,200 กก. และน้ำหนัก 7,200 กก. นั้นจะถ่ายลง บนคานหัวท้าย สองข้าง คานหัวท้าย

อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าเปลี่ยนพื้นสำเร็จกับพื้นหล่อกับที่ พัง แน่นอน Read More »