บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด
12/9 หมู่ 4 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง นนทบุรี
เบอร์ติดต่อ
081-309-7695086-413-3862
Office : 02-159-8480Fax : 02-159-8479Accountting : 02-927-1314Email : info@nmp.co.th

Spun Micro Pile

I Micro Pile

Square Micro Pile

Steel Micro Pile
Our Services
Quality Services


Quality Control (QC)


Quality Control (QC)


Quality Control (QC)

Quality Control (QC)


PT (Penetrant Testing)


Dynamic Pile Load Test
เสาเข็มสปันไมโครไพล์คืออะไร
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปันนั้น เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มากเสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด เสาเข็มสปันไมโครไพล์มีให้เลือกใช้หลายขนาด เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด ผลิตนั้นมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 - 30 เซนติเมตร มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 10 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 1.5 เมตรต่อท่อน ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับงานต่อเติมบ้าน โรงงาน,งานพื้นที่จำกัด, งานเสริมฐานรากตัวอาคาร, งานโรงงานที่ต้องการความเร็วในการตอกและความสะอาดของหน้างาน, งานตอกรับแท่นเครื่องจักร, งานเสริมการรับน้ำหนักของพื้นต่อตารางเมตร.

ได้รับการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรม 397-2524
"เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จแบบแรงเหวี่ยง"
รูปปั้นจั่นตอกเสาเข็ม


ข้อมูลของเสาเข็ม Spun Micro Pile
Micro Spun Pile Specification Comparison

Our Works
Example Projects
ข้อมูลของเสาเข็ม I Micro Pile
I MICRO PILE


Micro Pile I18x18cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 274.5 cm3 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 89 cm. |
Dowel Bar | 6 - RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 11 - RB 6mm. |
Steel Plate | 6mm. |
Safe Load | 18 - 25 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | 113 Kg. |
เลขที่ มอก. | coming soon |

Micro Pile I22x22cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 386 cm3 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 109 cm. |
Dowel Bar | 6 - RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 11 - RB 6mm. |
Steel Plate | 6mm. |
Safe Load | 20 - 30 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | - Kg. |
เลขที่ มอก. | coming soon |

Micro Pile I26x26cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 489 cm3 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 131 cm. |
Dowel Bar | 10 - RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 11 - RB 6mm. |
Steel Plate | 6mm. |
Safe Load | 30 - 35 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | - Kg. |
เลขที่ มอก. | coming soon |

Micro Pile I30x30cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 660 cm3 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 150 cm. |
Dowel Bar | 10 - RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 11 - RB 6mm. |
Steel Plate | 6mm. |
Safe Load | 35 - 40 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | - Kg. |
เลขที่ มอก. | coming soon |
Our Works
Example Projects
ข้อมูลของเสาเข็ม SQUARE MICROPILE

SQUARE MICRO PILE 22x22cm.
ขนาดหน้าตัดกว้างxยาว 22x22 cm. ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 20-25 Ton/Pile โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็ม square micro pile ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็ม square micro pile โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือ ทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test
- ค่ากำลังอัดคอนกรีต 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ ตามข้อกำหนด มอก. 397-2524
- Spiral มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 6 mm. ยาว 10 เมตร จำนวน 1 เส้น
- Dowel มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 9 mm. จำนวน 8 เส้น
สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้
โทรหาเรา
02-159-8480
081-309-7695
086-413-3962
Request a Quote
Fill all information details to consult with us to get sevices from us
![]() |
Learn More From
คำถามที่ถามบ่อยๆ
การจะใช้เสาเข็มแต่ละชนิดและจำนวนต้นนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรออกแบบ ไม่ใช่ทางผู้ผลิตเสาเข็มเป็นคนกำหนด เพราะหลักการออกแบบจะขึ้นอยู่กับการใช้งานแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะอยากได้ห้องครัวชั้นเดียว บางคนอยากได้ 2 ชั้น บางคนอยากได้ 2 ชั้นแบบมีดาดฟ้าด้วย ฯลฯ รสนิยมและกำลังทรัพย์ของคนแตกต่างกันออกไป ชนิดของเสาเข็มและจำนวนต้นก็แตกต่างกันด้วย ส่วนเรื่องของความลึกเสาเข็มนั้น บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด จะไม่ระบุความลึกที่ชัดเจนลงไปได้ เพราะแต่ละพื้นที่ความลึกของชั้นดินจะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น บางบ่อกับลาดพร้าว เขตบางบ่อนั้นถ้าจะตอกให้เสาเข็มรับน้ำหนักได้จริงต้องตอกให้ลึกถึง 26 - 33 เมตร ส่วนเขตลาดพร้าวนั้นชั้นดินที่รับน้ำหนักได้จะอยู่ประมาณ 18 - 21 เมตร เพราะฉะนั้นทางทางบริษัทฯ จะยึด Blow Count ของรายการคำนวณเป็นหลัก
บริการดูหน้างานและให้คำปรึกษาฟรี
โทรหาเรา 081-309-7695
Our Mechanical Engineer
Many Years Experience

Narong Pramjit
Senior

Jaroen Thongdee
GM

จเร เปรมจิตต์
ฝ่ายผลิตและควบคุมคุณภาพ (QC)

อรัญญา อินทรมาตย์
ฝ่ายบุคคล(HR)

อภิญญา ถึกอ่ำ
บัญชีและการเงิน

ธีระ เปรมจิตต์
Safety
NEWS
Latest From Our Blog
-
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 12 : บันไดบ้าน กับกฎหมายควบคุมอาคาร
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้านตอนที่ 12 : บันไดบ้าน กับกฎหมายควบคุมอาคาร สำหรับบ้าน 2 ชั้นขึ้นไป หรือแม้แต่บ้านชั้นเดียวที่มีพื้นที่ต่างระดับกัน หรืออยู่สูงจากพื้นที่โดยรอบภายนอก จะต้องมีบันไดเชื่อมระหว่างชั้นหรือพื้นที่ต่างระดับนั้นๆ ทั้งนี้ ลักษณะของบันไดบ้านจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนด ไม่ว่าจะเป็น ความกว้างบันได ช่วงความสูงบันได ความกว้างและความสูงของขั้นบันได รวมถึงระยะต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ท่านเจ้าของบ้านคงทราบว่า หากบ้านมีความสูงตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป หรือเมื่อพื้นที่ภายในชั้นเดียวกันของบ้านมีความต่างระดับกัน หรือบ้านที่อยู่สูงจากพื้นที่โดยรอบภายนอก ก็จำเป็นจะต้องมีบันไดสำหรับใช้ขึ้นลงระหว่างชั้นหรือความต่างระดับนั้นๆ หากบ้านหลังใดมีระดับเดียวกันทั้งหลัง…
-
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 11 : บันไดหนีไฟสำหรับบ้านตามกฎหมายควบคุมอาคาร
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้านตอนที่ 11 : บันไดหนีไฟสำหรับบ้านตามกฎหมายควบคุมอาคาร ระบบความปลอดภัยในบ้าน เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หนึ่งในนั้นคือ “บันไดหนีไฟ” ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ที่พักอาศัยที่เข้าข่าย โดยเฉพาะบ้าน ทาวน์โฮม ตึกแถว ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป อาคารพักอาศัยที่ไม่ใช่ตึกแถวบ้านแถว ซึ่งสูง 3 ชั้นและมีชั้นที่ 4 เป็นดาดฟ้า โดยที่พักอาศัยเหล่านี้จะต้องมีบันไดหนีไฟที่มีลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน ความปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัยในบ้านหรือใช้งานอาคาร มีหลายเรื่องที่ต้องคำนึงถึง…
-
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 10 : เรื่องรั้วบ้านกับกฎหมายควบคุมอาคาร
สำหรับเมืองไทยแล้ว บ้านเดี่ยวเกือบทุกหลังจะมีการสร้างรั้วรอบที่ดิน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และแสดงขอบเขตกรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้างทำเป็นรั้วโปร่ง บ้างทำเป็นรั้วทึบ หรือกำแพงกั้นระหว่างที่ดินของตนเองกับที่สาธารณะ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถนนสาธารณะ) หรือทำรั้วกั้นระหว่างที่ของตนเองกับเพื่อนบ้าน โดยรั้วด้านติดกับถนนสาธารณะก็จะมีประตูสำหรับรถหรืออาจมีประตูขนาดเล็กสำหรับคนเพื่อผ่านเข้าออก บทความตอนนี้ต้องการบอกว่ากฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องรั้ว ที่ท่านเจ้าของบ้านควรทราบไว้1. ทำรั้วบ้าน ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่ ? หลายท่านอาจคิดว่า “รั้วบ้าน” ไม่น่าจะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะ “รั้ว” ไม่ใช่ “อาคาร” คนเข้าไปอยู่ไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายควบคุมอาคารให้ความหมายของ “อาคาร”…
-
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 9 : การรื้อบ้านแฝด
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 9 : การรื้อบ้านแฝด บ้านสองหลังติดกันเป็นบ้านแฝด ถ้าต้องการรื้อถอนเพียงบ้านเดียวต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง บทความตอนนี้จึงขอตอบท่านเจ้าของบ้าน ที่ส่งคำถามมาทางอีเมล ถามว่า “ถ้าต้องการรื้อบ้านเก่า ที่เป็นบ้านแฝด ซึ่งตัวบ้านติดกับคนอื่นอีกหลังหนึ่ง โดยรื้อออกเพียงหลังเดียว ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ทำได้อย่างไร” ประเด็นสำคัญที่ท่านเจ้าของบ้านควรทราบและคำนึงถึง ก็คือ ด้านกฎหมายควบคุมอาคาร และด้านผลกระทบที่อาจเกิดจากการรื้อถอน เบื้องต้นขอเขียนไว้ 8 ประเด็น ดังนี้1. ต้องมีการขออนุญาตหรือแจ้งรื้อถอน …
-
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 8 : ระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 8 : ระยะห่างระหว่างอาคารกรณีอยู่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน หลายครอบครัวเมื่อลูกหลานโตพอ หรือมีการแต่งงานสร้างครอบครัวใหม่ บางครั้งก็วางแผนต่อเติม ปรับปรุงบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่อีกหลังในที่ดินเดียวกับบ้านหลังเดิม เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ๆ กัน หรือบางท่านมีที่ดินผืนใหญ่ แล้ววางแผนจะสร้างบ้านหลายหลังบนที่ดินผืนนั้น เพื่อให้ลูกหลานอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ยังไม่ได้แยกกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ถ้าท่านกำลังมีแผนเช่นที่ว่าอยู่พอดี หากได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายต่อเติม สร้างบ้าน ก็จะทราบว่า กฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดเรื่องการก่อสร้างอาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกันไว้ โดยอาคารแต่ละหลังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกัน ดังนั้น ไม่ว่าท่านกำลังจะก่อสร้างบ้านใหม่อีกหลังใกล้กับบ้านหลังเดิม หรือท่านกำลังสร้างบ้านใหม่หลายหลังพร้อมกัน…
-
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน ตอนที่ 7 : ที่ว่างและระยะร่นโดยรอบอาคาร ตึกแถว-ห้องแถว บ้านแถว และบ้านแฝด
กฎหมายควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้านตอนที่ 7 : ที่ว่างและระยะร่นโดยรอบอาคาร ตึกแถว-ห้องแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ตอนที่แล้วทิ้งท้ายไว้ว่าจะเขียนถึงที่ว่างโดยรอบอาคาร สำหรับบ้านที่ปลูกสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากที่อยู่อาศัยนั้นอาจมีได้ทั้งที่เป็น บ้านเดี่ยวหลังเดียว บ้านแฝด หรือบ้านแถว หรือแม้แต่ใช้ตึกแถวห้องแถวทำเป็นที่พักอาศัย ซึ่งมีข้อกำหนดเรื่องที่ว่างและระยะร่นแตกต่างกัน ด้านหลังของตึกแถว-ห้องแถว ต้องมีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร โดยยอมให้สร้างบันไดหนีไฟภายนอกล้ำเข้ามาในที่ว่างนี้ได้ไม่เกิน 1.40 เมตร มาดูว่าอาคารแต่ละประเภท กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดว่าจะต้องมี “ที่ว่าง” …